• ไทย
  • อังกฤษ

ฉลากสินค้า สติ๊กเกอร์

สติกเกอร์ที่เราๆใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วไป เช่นสำหรับ อาหาร, ห้องเย็น, ป้ายราคาห้างสรรพสินค้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า,เครื่องสำอางค์, ยา, โรงพยาบาล, ของเล่น, ยานยนต์, อะไหล่, ติดขวดน้ำมันเครื่อง, ขวดแชมพู, สินค้าอุปโภคบริโภค, ป้ายโฆษณา,สำนักงาน, ดังนั้นเราควรเลือกสติ๊กเกอร์ให้เหมาะกับการใช้งาน

วิธีเลือกวัสดุสำหรับงานพิมพ์ฉลากสติ๊กเกอร์มี ง่ายๆดังนี้

1. สามารถเลือกใช้สติ๊กเกอร์ โดยดูจากวัสดุที่ติด ผิวของวัสดุ การกันน้ำ ทนแดด ทนต่อสภาวะแวดล้อมเช่น ตากฝน ตากแดด หรืออยู่ในร่ม เป็นต้น

– สติ๊กเกอร์ขาวด้าน และกึ่งเงากึ่งด้าน  เหมาะสำหรับเขียนทับ หรือพิมพ์ทับด้วยพริ้นเตอร์ ไม่ทนต่อการสัมผัสน้ำ

– สติ๊กเกอร์ขาวเงา เหมาะสำหรับติดบนวัสดุทีเรียบแบน เคลือบให้เงาหรือด้านได้ ติดบนผิวกระดาษหรือ พลาสติก แต่อาจหลุดล่อนได้ เมื่อสัมผัสน้ำโดยตรง

– สติ๊กเกอร์พีวีซี (PVC) มีทั้งแบบใสและขาวขุ่น เหมาะสำหรับติดกลางแจ้ง ติดบนโลหะได้ดี ไม่หลุดเมื่อแช่อยู่ในน้ำ

– สติ๊กเกอร์ พีพี (PP) มีทั้งแบบใสและขาวขุ่น เหมาะสำหรับติดบนฉลากสินค้าผิวเป็นพลาสติกหรือแก้ว แต่ผิววัสดุควรเรียบแบนหรือโค้งได้เล็กน้อยเนื่องจากสามารถให้ตัวได้เล็กน้อย เช่นติดบนขวดยา ขวดแชมพู ขวดแก้ว

– สติ๊กเกอร์ พีอี (PE) ยืดหยุ่นได้ดีกว่า PP เช่นติดบนผิวโค้งคล้ายลูกบอลได้, กดบีบได้บนหลอดโฟม เป็นต้น

2. เลือกสติ๊กเกอร์ตามความเหนียวของกาว  ตัวอย่างเช่น

– กาวเหนียวธรรมดา ติดถุงขนม ติดกระดาษ

– กาวเหนียวพิเศษ ติดบนพลาสติก แก้ว ไม้เหล็ก เป็นต้น

– สติ๊กเกอร์รีมูฟ ติดบนกระจก กาวที่ติดแล้วสามารถลอกออกจากวัสดุโดยไม่ทำให้วัสดุที่ถูกติดไม่ทิ้งคราบกาว เป็นต้น

– สติ๊กเกอร์สูญญากาศ ใช้ติดกระจก โดยไม่ใช้กาวใช้สูญญากาศให้ดูดติดกระจก ทำให้ไม่ทิ้งกาวเวลาลอกออก

ดังนั้นควรเลือกประเภทสติ๊กเกอร์ ได้จากผิววัสดุที่ติด ความโค้งของผิวที่ติด การสัมผัสน้ำ การสัมผัส ความร้อนความเย็น ชนิดของกาวละลายน้ำหรือไม่ละลายน้ำซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการยึดติดของสติ๊กเกอร์


ขนาด
ตามต้องการ (ใหญ่สุดไม่เกิน 52×69 ซม.)

ระบบพิมพ์
ระบบออฟเซท, ซิลสกรีน สามารถพิมพ์ ตั้งแต่ 1-4สี หรือตามต้องการ

เทคนิคพิมพ์พิเศษ
อาจมีเทคนิคหลังพิมพ์เพี่มความสวยงานและน่าสนใจ เช่น การเคลือบ UV,Spot UV, เคลือบพลาสติกเงา และเคลือบพลาสติกด้านเพื่อความคงทนต่อการฉีกขาด และการเปียกน้ำ ปั๊มทอง(Hot Stamp), ส่วนมากใช้กับตัวอักษร ตรา โลโก้

ไดคัท
เพื่อรูปร่างตามต้องการ

สอบสาม คลิก
Email
โทรหาเรา
Messenger
พูดคุยผ่าน LINE
Messenger
Line
Viber
Email